วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วยองค์พระธาตุลำปางหลวงเป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็นวิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และวิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้และหอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาสซึ่งประกอบด้วยอาคารหอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะ คนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน 

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป ในบริเวณวัดมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย ได้แก่

ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง

วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก

องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัวมาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือที่เรียกว่า ทองจังโก ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารบริวารตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารเครื่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปร่างและสัดส่วนงดงาม ภายในคอสองมีภาพเขียนสีโบราณที่เก่าแก่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 45 นิ้ว

หอพระพุทธ เป็นสถาปัตยกรรมก่ออิฐทรงสี่เหลี่ยม ฐานเจดีย์สร้างครอบรอยพระพุทธบาทไว้ สร้างขึ้นสมัยเจ้าหาญแต่ท้อง เมื่อปี พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น

วิหารพระพุทธ สร้างขึ้นคู่กับวิหารน้ำแต้ม สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นวิหารโล่ง ได้มีการบูรณะซ่อมแซมภายหลัง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 40 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะ และส่วนสัดที่งดงามมาก วิหารพระพุทธเป็นวิหารทิศ ตามจักรวาลคติ มีองค์พระธาตุเจดีย์เป็นศูนย์กลาง สร้างขึ้นเป็นวิหารหลังแรกของวัดในปีพ.ศ. 2019 สมัยของพระเจ้าติโลกราช เดิมเป็นวิหารโถงมีฝาย้อยคอยกันแดดและฝน โครงสร้างภายในใช้วิธีการรับน้ำหนักของเครื่องบนแบบขื่อม้าต่างไหมซึ่งเป็นแนวคิดของช่างล้านนา ไม่ปรากฏในพื้นที่อื่นและมีเสาหลวง 10 ต้นแบ่งพื้นที่ภายในเป็น 5 ห้องเมื่อมีการบูรณะในปีพ.ศ. 2345 ได้มีการก่ออิฐขึ้นมาเป็นฝาปิดทึบตามแนวเดียวกับฝาย้อยและกั้นปิดห้องแรกเพิ่มซุ้มประตูขึ้นมา พระประธานในวิหารเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย ส่วนที่สวยงามที่สุดของวิหารหลังนี้น่าจะเป็นลายคำที่ช่างสมัยนั้นบรรจงสร้างสรรค์ตกแต่งวิหารให้สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นวิหารลายคำ 1 ใน 3 หลังของวัดพระธาตุลำปางหลวง ลายคำที่เสาหลวงมีร่องรอยของการบูรณะมาแล้วซึงน่าจะทำในคราวเดียวกับการกั้นฝาวิหาร และยังปรากฏเงาพระธาตุกลับหัวภายในวิหารอีกด้วย ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมได้ทุกเพศทุกวัย

กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี มาแล้ว บันไดทางขึ้นด้านหน้าออกแบบเป็นรูปมังกรคายพญานาคทั้งสองข้างบันได เชิงบันไดมีรูปสิงห์ปูนปั้นขนาดใหญ่สองตัว สร้างในสมัยพระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2331 









สถานีรถไฟนครลำปาง จังหวัดลำปาง


สถานีรถไฟนครลำปาง ตั้งอยู่ที่ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 642.29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจังหวัดลำปางในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459 แต่เดิมระหว่างสถานีรถไฟห้างฉัตรกับสถานีรถไฟนครลำปางเคยมีที่หยุดรถบ่อแฮ้ว แต่ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว...

ลักษณะสถาปัตยกรรม ตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนเป็นที่ทำการสารวัตรเดินรถลำปาง ส่วนชั้นล่างเป็นที่ทำการของสถานี รั้วระเบียงอาคารชั้นบนและเหนือวงกบประตูและหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายสวยงาม ส่วนทางเข้าห้องโถงชั้นล่างซึ่งเป็นห้องจำหน่ายตั๋วและทางขึ้นชั้นบนเป็นประตูรูปโค้งขนาดใหญ่ สถานีนครลำปางได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอตลอดมา ทำให้ยังคงรูปแบบและเอกลักษณ์เดิมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2536 ในอดีตเป็นศูนย์กลางของรถไฟที่จะต่อไปที่นครเวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ข้างหน้ามีสถานีมีหัวรถจักรไอน้ำ มีอักษรย่อเขียนว่า ร.ฟ.ท. อยู่ที่ข้างหัวรถจักร ข้างหน้ามีน้ำพุเป็นช้างพ่นน้ำพุ ตัวสถานีห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร และอาคารสถานีได้ถูกบันทึกเป็นอาคารอนุรักษ์ ส่วนหน้าสถานีจะมีรถไฟจะมีจุดจอดรถม้าอยู่ด้วย...






เชิญเที่ยวงานบวงสรวงศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม่สรวย ประจำปี 2562




อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขอเชิญเที่ยวงานบวงสรวงศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2562  ณ สนามศาลสมเด็จพระนเรศวร ระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2562 ชมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ ประกวดแห่แต่ละหมู่บ้าน การละเล่นพื้นเมือง แข่งขันวู๊ดบอล ตะกร้อ เปตอง ประกวดธิดาแม่สรวย แข่งขันร้องเพลงชาย-หญิง แข่งขันชกมวยไทย และพบกับศิลปินนักร้อง..


เชิญเที่ยวงานสืบสานประเพณีปีใหม่ม้ง เวียงป่าเป้า 2562 เชียงราย


องค์การบริหารส่วนตำบลสันสลี และเครือข่ายม้ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เชิญเที่ยวงานสืบสานประเพณีปีใหม่ม้ง ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม 2562 กิจกรรมภายในงานสัมผัสและลิ้มลองอาหารม้งและเครือข่ายชาติพันธุ์ ชมการแข่งขันฟอมูล่าม้ง การละเล่น การแสดงศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาต่างๆ ของเครือข่ายชาติพันธุ์



อนุสาวรีย์จ่าแซม วีรบุรุษแห่งถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน เชียงราย

อนุสาวรีย์นาวาตรีสมาน กุนัน หรือจ่าแซม "วีรบุรุษแห่งถ้ำหลวง" อดีตทหารเรือหน่วยบัญชาการศูนย์สงครามพิเศษทางเรือ ซื่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์ช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี 13 คนที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน-10 กรกฏาคม 2561 และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมารูปหล่อจ่าแซมที่หล่อด้วยโลหะบรอนด์ สูง 3.20 เมตร ฐานกว้าง 2.50 เมตร ด้วยใบหน้าที่ยิ้มได้นำมาติดตั้งที่บริเวณด้านหน้าศาลาอนุสรณ์สถาน พิพิธภัณฑ์จ่าแซม โดยมีน้องๆ 13 หมูป่าร่วมขบวนแห่รูปหล่อจ่าแซมจากวัดร่องขุนถึงถ้ำหลวง ภายในศาลาอนุสรณ์สถานจะติดตั้งภาพวาด THE HEROES ขนาดยาว 13 เมตร กว้าง 3 เมตร ภาพวาดแม่นางปิ่นคำ เจ้าแม่ขุนน้ำนางนอนที่ศิลปินขัวศิลปะวาดได้อย่างสวยงาม บริเวณใกล้ๆ กับศาลาอนุสรณ์สถานจะเป็นที่ตั้งของถ้ำพระ ซึ่งเปิดให้เข้าชมความสวยงามของถ้ำพระ เดินลงไปได้ ส่วนถ้ำหลวงยังไม่เปิดให้เข้าชมด้านใน นอกจากถ้ำพระยังมีสระน้ำมรกตให้เที่ยวชมความสวยงามของน้ำสีเขียว

การเดินทางไปเที่ยววนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน สามารถนำรถส่วนตัวขับไปจนถึงบริเวณหน้าปากถ้ำที่จอดรถกว้างขวาง หรือจะใช้บริการรถโดยสารบริการรับส่งค่าโดยสารคนละ 10 บาท กรณีที่จะไปเที่ยวถ้ำมรกตจะมีรถโดยสารบริการในราคา 10 บาทเช่นกัน











เทศบาลตำบลแม่สรวย ขอเชิญร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2561




เทศบาลตำบลแม่สรวย ขอเชิญร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2561 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ณ บริเวณลานหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลแม่สรวย กิจกรรมภายในงาน การประกวดกระทงเล็ก การประกวดกระทงใหญ่ พร้อมริ้วขบวนที่สวยงาม การแสดงนิทรรศการ การแสดงวัฒนธรรมรำวงย้อนยุค และการแสดงศิลปวัฒนธรรมบนเวที แสง สี เสียง สนใจสมัครการประกวดและร่วมกิจกรรม ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย..


มิติใหม่ของชาวเชียงราย "CR BUS" รถบัสโดยสารประจำทาง

มิติใหม่ของชาวเชียงราย "CR BUS" รถบัสโดยสารประจำทาง เส้นทางสนามบินแม่ฟ้าหลวง - สถานีขนส่ง (บขส.) จังหวัดเชียงราย แห่งที่ 2 เส้นทางผ่านสถานที่สำคัญในจังหวัดเชียงราย ดังนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย, สนามฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด, ศูนย์ราชการเชียงราย, อบจ.เชียงราย,โรงเรียนเทศบาลนครเชียงราย, อนุเสาวรีย์พญามังรายมหาราช, สถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย, ศาลจังหวัดเชียงราย, ไนท์บาร์ชาร์, ตลาดสดเทศบาล, สถานีขนส่ง (บขส.) จังหวัดเชียงราย แห่งที่ 1, เซ็นทรัลเชียงราย, สถานีขนส่ง (บขส.) จังหวัดเชียงราย แห่งที่ 2 ค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสาย เริ่มวิ่งต้นเดือนตุลาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 6.00-24.00 น.