การทำนาอาชีพหลักของคนภาคเหนือ

การทำนา เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในภาคเหนือและเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี นอกจากใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว เกษตรกรบางรายนำผลผลิตที่นอกเหนือจากการแบ่งไว้กินก็จะนำไปขาย เกษตรกรทางภาคเหนือจะทำนาดำกันมากกว่าการทำนาหว่าน นาหว่านจะทำกันน้อยมาก ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่เพาะปลูกข้าวจะแบ่งเป็นแปลงเล็กฯ และมีคันนากั้นไว้ ทำให้ไม่สะดวกกับรถเกี่ยวข้าวซึ่งคันใหญ่เหยียบคันนาของเกษตรกรพังเสียหาย ทำให้เกษตรกรทางภาคเหนือจึงนิยมการทำนาดำกันตามแบบดั่งเดิมที่เคยทำกันมา และใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวข้าว

การปลูกข้าวหรือการทำนามีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน
คือ  1. การทำนาดำ 
      2. การทำนาหว่าน
      3. การทำนาหยอด
      4.  การทำนาถาด

สำหรับฤดูทำนาปี (พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง) สำหรับพันธุ์ที่ใช้ปลูกกัน เช่น พันธุ์ข้าว กข.6 จะปลูกกันเยอะที่จังหวัดเชียงรายปลูกกันมากส่วนพันธุ์สันป่าตอง1เกษตรกรบางรายก็นิยมปลูกกันการทำนาในประเทศไทยเราก็จะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฏาคมอาจคาบเกี่ยวไปจนถึงเดือนสิงหาคม เนื่องจากฤดูทำนาแถวภาคเหนือตรงกับช่วงของลำไยเริ่มสุกเกษตรกรบางส่วนต้องไปรับจ้างเก็บลำไยทำให้ขาดแรงงานในการจ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนอีกด้วยและเมื่อครบ 3 เดือนข้าวที่ปักดำ หรือหว่านไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวต่อไป

ส่วนนาปรัง (พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง) สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2 เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนั้นเกษตรกรบางรายก็จะปลูกข้าวญี่ปุ่นกัน ข้าวญี่ปุ่นจะเริ่มปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม จะให้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต ข้าวญี่ปุ่นจะปลูกกันมากแถวอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอพาน และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย














ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม่สรวย เชียงราย



                          ประวัติความเป็นมาของศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดเชียงราย

วันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2512  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช  พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีบวงสรวงสังเวยเป็นราชพลี และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องด้วยข้อสันนิษฐานเบี้องต้นที่ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพเคลื่อนพลช้าง ม้าไปเมืองหาง โดยผ่านเวียงป่าเป้าและพักทัพอยู่ ณ พื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ในปีพุทธศักราช 2523คณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า เสนอโครงการสร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ อำเภอแม่สรวย ไปยังกรมศิลปากร ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้ในปีพุทธศักราช 2526


วันที่ 5  กรกฏาคม พุทธศักราช 2530 คณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ตั้งผ้าป่าสามัคคีหาทุนสร้างอาคารไม้ 1 หลัง เพื่อใช้เป็นศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชั่วคราว ณ หมู่ที่ 13 ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เจ้าพระยาไชยานุภาพ และเจ้าพระยาปราบไตรจักร
วันที่  3 กันยายน พุทธศักราช 2533 ได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยอดีตแม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมเงินทุน 500,000 บาท โดยมีองค์กรเอกชน ส่วนราชการ และพ่อค้าประชาชน ได้ร่วมบริจาคด้วย รายได้ส่วนหนึ่งมาจากการจำหน่ายต้นพันธุ์จำปีพร้อมปลูก ต้นละ 3,000  บาท และเชิญผู้บริจาคร่วมปลูกพร้อมมีป้ายชื่อผู้ปลูกทุกต้นด้วย นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายอำเภอแม่สรวย และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ พล.อ.แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา)


วันที่  4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ได้มีพิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจำลอง มาจากเมืองพิษณุโลกมาประดิษฐาน ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดเชียงราย

วันที่ 13 พฤษภาคม พุทธศักราช 2545 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นองค์ประธาน ประกอบพิธีหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่าพระองค์จริง ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร

วันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2546 ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปเท่าพระองค์จริงมาประดิษฐาน ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตราบเท่าทุกวันนี้

หอประวัติศาสตร์การเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 69 ไร่ ถนนเชียงใหม่-เชียงราย กม.ที่ 129 เลขที่ 139 หมู่ 13 ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอแม่สรวย ประมาณ 2 กิโลเมตร ณ บริเวณอุทยานอันเป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉลิมพระเกียรติแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย ด้วยระบบที่ทันสมัย 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ ได้จากห้องแสดงภาพอดีตและปัจจุบัน  (Then & Now) และจากจอคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส (Touch Screen Computer)



สะพานแม่น้ำสรวย แม่สรวย เชียงราย

สะพานแม่น้ำสรวย สำหรับคนท้องถิ่นจะเรียกอีกชื่อว่า ขัวแม่สรวย อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นสะพานสำหรับการเดินทางไปเชียงราย-เชียงใหม่ ใต้สะพานเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อน ในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากมีแม่น้ำที่ไหลลงมาจากเขื่อนแม่สรวย เป็นน้ำที่ใส และเย็น ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ทำให้น้ำที่นี่เย็นมาก และในช่วงฤดูร้อนจะมีนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำ มานั่งเล่นกันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับแหล่งท่องเที่ยว คือ ร้านค้า ร้านอาหาร มีให้บริการแก่นักท่องเที่ยวมากมายหลายร้าน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมอีกที่หนึ่ง และทุกปีจะใช้สถานที่ตรงนี้จัดงานสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับภาคเหนืออีกด้วย










น้ำพุร้อนธรรมชาติเวียงป่าเป้า

โป่งน้ำร้อน อำเภอเวียงป่าเป้า เป็นบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นมาจากธรรมชาติ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนเล่าว่า เดิมทีบริเวณนี้ยังไม่มีหมู่บ้าน เป็นป่าดงดิบ เมื่อก่อนเรียกว่า "โป่งดิน" ที่มีสัตว์ต่างๆ ลงมากินดินโป่งเป็นประจำและบริเวณบ่อน้ำร้อนก็ยังเป็นทางผ่านของพ่อค้าระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยมีม้าและวัวเป็นพาหนะ เป็นเส้นทางเดินไปตามไหล่เขาตลอดเวลาและใช้เป็นจุดพักแรมได้ด้วย เพราะพื้นเป็นลาน ทำเลสะดวก จนต่อมามีผู้คนมาอยู่มากขึ้นกลายเป็นหมู่บ้าน ส่วนบ่อน้ำร้อนนั้นเกิดจากธรรมชาติ มีอยู่ด้วยกัน 3 บ่อ ความร้อนประมาณ 90 องศาเซลเซียส..

บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติสูงและสวยที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งป่าตอง หมู่ 14 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือจุดพักรถระหว่างการเดินทางจากเชียงรายไปเชียงใหม่ ภายในบริเวณบ่อน้ำร้อนจะมีบ่อต้มไข่ให้บริการกับนักท่องเที่ยว มีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟไว้คอยบริการ มีสินค้าให้เลือกซื้อเป็นของฝากของที่ระลึกมากมาย เช่น เครื่องเงิน สินค้าพื้นเมืองไม้แกะสลัก เสื้อผ้า เครื่องประดับ ขนม สินค้า OTOP เป็นต้น...

นอกจากนี้ที่นี่ยังมีให้บริการอาบน้ำแร่ และแร่เท้า FISH SPA สำหรับ FISH SPA ราคาก็จะแตกต่างกันไปคิดเป็นนาที ที่นี่จะมีจุดให้บริการแช่เท้าฟรีเยอะมากหลายจุด...แช่แล้วรู้สึกสบายเท้าแก้เหน็บชา คลายเส้น กรณีที่นั่งรถนาน...ภายในบริเวณนี้ยังมีพระธาตุเก่าแก่ อายุประมาณ 700 ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์และเหลือเพียงแหล่งสุดท้ายของหมู่บ้านโป่งป่าตอง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 เคยมาแวะพักประทับค้างแรมที่บ่อน้ำร้อนแห่งนี้ด้วย...ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการสร้างบันได และบูรณะ ซ่อมแซมองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ ซึ่งองค์พระธาตุชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา...


















วัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ประวัติความเป็นมาของวัดแสงแก้วโพธิญาณ

วัดแสงแก้วโพธิญาณตั้งอยู่บนดอย "ม่อนแสงแก้ว" ตั้งอยู่เลขที่ 191 หมู่ที่ 11 ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีเนื้อที่ 79 ไร่เศษ ตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนีย์ภาพที่สวยงามมาก มีความสงบและสัปปายะ

ปฐมเหตุการณ์สร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ เนื่องด้วยพ่อหลวงยา ศรีทา และชาวบ้านป่าตึงงาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านใหม่แสงแก้ว) และคณะศรัทธาอยากจะมีวัดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อเป็นสถานที่ทำบุญยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงได้กราบอาราธนาพระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต มาจากวัดพระธาตุดงสีมา ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มาสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน ท่านพระครูบาตอบตกลงและเริ่มตามหาที่ดินที่เคยนิมิตเห็น เมื่อพบที่แล้วกรวดน้ำอธิฐานขอสร้างบารมีในที่แห่งนี้ หลังจากนั้นอีกไม่นานก็มีเจ้าภาพนำที่ดินแห่งนั้นมาถวาย จำนวน 19 ไร่ จึงเริ่มวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (แปดเป็ง) วันวิสาขบูชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านครูบาจึงได้เริ่มก่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ โดยใช้ศิลปะแบบผสมผสานล้านนา พม่า ไต (ไทลื้อ) ซึ่งใช้ระยะเวลาอย่างรวดเร็วในการก่อสร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2554 และผูกพันธสีมา ฝังลูกนิมิตในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2556 (ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 เหนือ) และพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

ภายในบริเวณวัดแสงแก้วโพธิญาณที่กว้างใหญ่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักการะกราบไหว้บูชา เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ครูบาขาวปี๋ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา มหาเทพทันใจ กราบไหว้แล้วจะประสบความสำเร็จจะรวยทันใจสมปรารถนาดั่งใจนึก ท่านแม่กระซิบ มีเรื่องไม่สบายใจอะไรก็ไปกระซิบให้ท่านฟัง พระแม่นางกวัก โชคลาภความร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยลาภยศบารมี ค้าขายร่ำรวย พระพิฆเนศ ขอความสำเร็จในหน้าที่การงาน ชื่อเสียง เกียรติยศ พระพรหม ขอเรื่องการงานมีอุปสรรค มีปัญหา พระสีวลี ขอโชคลาภ ขอโภคทรัพย์ พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม อวโลกิเตศวร ปางพันกร (สร้างจริง 38 กร) ขอได้ทุกอย่าง

ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ

แสงแก้วโพธิญาณแปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยพระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต ท่านเกิดนิมิตว่า "ฝนตกหนักมาก มองอะไรก็ไม่เห็น ครูบาก็เดินหลงไปหลงมาอยู่บนภูเขาสักพักก็ได้เห็นป่าทั้งป่าบนภูเขา มีดอกบัวบานเต็มไปหมด มีแสงสว่างไสวสวยงาม ครูบาจึงคิดชื่อได้จากเหตุนิมิตที่เห็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้วกลายเป็นดอกบัวอีกนัยหนึ่งคือ "โพธิญาณ" หมายถึง หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาจากพ้นน้ำแล้วเปล่งแสงคล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งชื่อว่า "วัดแสงแก้วโพธิญาณ"

สำหรับบ่อน้ำทิพย์พระฤาษีจะอยู่ด้านหลังของวัดแสงแก้วโพธิญาณ ไม่ไกลจากวัดแสงแก้วโพธิญาณขับเลยวัดแสงแก้วโพธิญาณไปอีกเล็กน้อย สังเกตุศาลเจ้าแม่กวนอิมที่ตั้งอยู่ตรงทางเดินไปบ่อน้ำทิพย์พระฤาษีเดินลงไปได้

การเดินทางไปวัดแสงแก้วโพธิญาณสามารถไปได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเข้าที่บ้านป่าตึงงาม สังเกตุหลักกิโลเมตร 125 เป็นหลักกิโลเมตรที่ใหญ่มาก ไปตามเส้นทางถนนคอนกรีต สะดวกขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึงวัดแสงแก้วโพธิญาณที่สวยงาม เส้นทางที่ 2 เข้าที่ถนนใกล้กับร้านกาแฟฮักแม่สรวย สภาพถนนดีแถมวิวสวยด้วยสวนลำไยและสวนยางพาราของชาวบ้านก็ได้นะค่ะ....




ครูบาขาวปี๋ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
จำลองเรื่องโลกและจักรวาล


มหาเทพทันใจ ท่านแม่กระซิบ
พระแม่นางกวัก