ประเพณีกินข้าวใหม่ชาวลาหู่ บ้านแม่ผักแหละ

"ประเพณีกินข้าวใหม่" ของชาวลาหู่จะจัดขึ้นในช่วงของกลางเดือนตุลาคม ของทุกๆ ปี ก่อนวันงานแต่ละบ้านก็จะมีการฆ่าหมู สำหรับนำมาทำเป็นอาหารและจัดเตรียมอาหารประเภทเครื่องดื่ม เช่น เหล้าน้ำอัดลม ขนม ไว้คอยต้อนรับแขกหรือญาตที่มาเที่ยวหา และนำพืชผลจากการเกษตรโดยเฉพาะข้าวใหม่หรือข้าวไร่ในปีนั้น มากินเลี้ยงกันในหมู่บ้านตลอดทั้งวัน ประเพณีกินข้าวใหม่ จะคล้ายกับประเพณีของคนเหนือที่เรียกว่า "กิ๋นข้าวสลาก" คือจะกินกันทั้งวันในวันดา ส่วนอีกวันก็จะเป็นการไปทำบุญที่วัด สำหรับชาวลาหู่วันกินข้าวใหม่ ก็จะมีการมาดำหัวขอพรคนที่เขานับถือด้วย ส่วนของที่นำมาดำหัวส่วนมากก็จะเป็นอาหาร ถือเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวลาหู่อีกอย่างหนึ่ง....

บ้านแม่ผักแหละก็เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านชาวเขาโดยที่บ้านแม่ผักแหละจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เผ่าที่เรียกว่า "เผ่ามูเซอแดงกับเผ่ามูเซอดำ" บ้านแม่ผักจะเป็นเผ่ามูเซอแดง นับถือศาสนาพุทธ คริสต และนับถือทั้งสองศาสนาก็มี การเดินทางเข้าไปบ้านแม่ผักแหละ ใช้เส้นทางจากถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ ตรงบ้านป่าถ่อน ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ขับตรงไปเรื่อยๆ เป็นถนนลูกรังมีหลุมเล็กน้อย ก่อนถึงหมู่บ้านถนนก็จะลาดยาง...

















พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เป็นบ้านส่วนตัวของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมฟรีภายในบริเวณพื้นที่ทั้งหมดของบ้านอาจารย์ทุกหลังจะเป็นสีดำทั้งหมดซึ่งเป็นสีที่ชอบ ศิลปะแบบล้านนา แต่ละหลังก็จะออกแบบแตกต่างกันไป บรรยากาศจะเป็นแบบเงียบๆ ร่มรื่นเย็นสบายด้วยต้นไม้ที่ปลูกไว้ บ้านทุกหลังออกแบบสวยงามตกแต่งด้วยไม้แกะสลักที่งดงาม และตกแต่งด้วยของสะสมของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งมีมากมายหลายอย่างเยอะมาก เช่น เขาควาย ไม้แกะสลัก ปืน เขาวัว เขากวาง กระดูก โต๊ะไม้ กระโหลกสัตว์ต่างๆ  เครื่องปั๋นดินเผาสมัยโบราณ กระดูกช้าง เครื่องเงิน ซากหนังงูที่อาจารย์วางโชว์ไว้บนโต๊ะที่มีความยาวมาก ฯลฯ นอกจากการเดินชมบ้านของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี แล้วยังมีอีกอาคารหนึ่งเป็นอาคารสำหรับจำหน่ายสินค้า เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า ไม้แกะสลัก ของที่ระลึก ภาพเขียนที่สวยงาม สำหรับให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วย....

บ้านดำ จะตั้งอยู่เลขที่  414 หมู่ 13 บ้านแม่ปูคา ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์....สำหรับที่นี่มีข้อห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในบริเวณบ้านดำโดยเด็ดขาด...การเดินทางไปบ้านดำใช้เส้นทางที่จะไปแม่สาย ผ่านแยกราชภัฎเชียงรายประมาณ 3 กิโล สังเกตซ้ายมือจะเจอป้าย "บ้านแม่ปูคา" ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเรื่อยๆ จากถนนใหญ่เข้าไปบ้านดำประมาณ 300 เมตร...

มหาวิหาร (อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ)
เรือนเชียงทองทาทาบรุ้ง
วิหารเล็ก











หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ

หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ถนนบรรพปราการ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ส่วนหอนาฬิกาเก่า ได้ย้ายไปอยู่ตรงบริเวณสามแยกหน้าโรงรับจำนำของจังหวัดเชียงราย บริเวณตลาดสดเทศบาล 1 ไม่ห่างจากจุดเดิมมากนัก..หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ กลางวันก็ดูสวยงามไปอีกแบบ และถ้าดูกลางคืนก็ยิ่งงดงามตระการตาด้วยแสงไฟที่มีหลายสีจะแสดงให้ชมตั้งแต่ 2 ทุ่มเป็นต้นไป  เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของเชียงรายอีกที่หนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเที่ยวเชียงรายแล้วไม่ควรพลาดชมอย่างยิ่ง เป็นงานศิลปะออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย...

สำหรับตรงจุดนี้ชาวเชียงรายจะเรียกกันว่า "สี่แยกหอนาฬิกา" และหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเฉลิมฉลองในคืนวันส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ของชาวจังหวัดเชียงรายอีกด้วย...








วัดพระแก้ว เมือง เชียงราย

วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดราษฏร์...........ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2521 มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา "วัดพระแก้ว" เดิมชื่อ "วัดป่าเยี้ยหรือป่าญะ" เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีไม้เยี้ยะซึ่งเป็นไม้ไผ่พันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไม้ไผ่สีสุก ไม่มีหนาม นิยมนำมาใช้ทำหน้าไม้และคันธนู ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดป่าเยี้ยะ จนกระทั่ง พ.ศ.1977 ฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์วัดป่าเยี้ยะ พบพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองอยู่ภายใน จึงนำมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบางแห่งหลุดกะเทาะออกแลเห็นเนื้อแก้วสีเขียวภายใน จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์พบพระพุทธรูปทำด้วยแก้วมรกต มีพุทธลักษณะงดงามมาก เป็นที่เลื่องลือและโจษขานกันทั่วไป ความทราบถึงเจ้าเมือง จึงมีใบบอกไปยังพระเจ้าสามฝั่งแกนผู้ครองอาณาจักรล้านนา ซึ่งราชธานีที่เชียงใหม่ สั่งให้อัญเชิญไปยังเชียงใหม่ หลังจากนั้นมาพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทร์ ธนบุรี จนในที่สุดประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งปัจจุบัน การค้นพบพระแก้วมรกตในครั้งนั้น ทำให้วัดป่าเยี้ยะได้รับการขนานนามใหม่ว่า "วัดพระแก้ว" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...

ภายในวัดพระแก้ว นอกจากพระอุโบสถ ซึ่งเป็นวิหารทรงเชียงแสน มีลักษณะฐานเตี้ย เชิงหลังคาลาดต่ำ ยังมีหอพระหยก ซึ่งเป็นอาคารทรงล้านนาโบราณ ภายในประดิษฐาน "พระพุทธรัตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล" หรือ "พระหยกเชียงราย" ก็ยังมีโฮงหลวงแสงแก้ว ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงพระพุทธรูปที่สำคัญของวัด เช่น พระเจ้าทันใจ พระโปรดโลก พระพุทธศรีเชียงราย รวมทั้งแสดงศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัยให้เข้าไปเยี่ยมชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น.

พระอุโบสถ
หอพระหยก
โฮงหลวงแสงแก้ว

พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้สร้างเมืองเชียงราย

พระพุทธรัตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล 
พระเจ้าล้านทอง

ศาลาพระเจ้าทันใจ




วัดพระธาตุดอยจอมทอง

วัดพระธาตุดอยจอมทอง (วัดดอยทอง) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง.......เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย สันนิษฐานว่ามีมาก่อนพ่อขุนเม็งราย จะมาพบพื้นที่สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ.1805......ตามประวัติกล่าวว่าสร้างในสมัยพระยาเรือนแก้ว ผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ.1483 เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พระเจ้าพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน............และนำไปประดิษฐานที่พระเจดีย์ธาตุที่สำคัญในจังหวัดเชียงราย คือ วัดพระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุจอมกิตติ และที่พระเจดีย์พระธาตุดอยจอมทองแห่งนี้......

สิ่งสำคัญภายในวัดพระธาตุดอยจอมทอง นอกจากพระธาตุเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะเป็นพระเจดีย์ศิลปะล้านนาและพุกามแล้ว ยังมีพระวิหารที่มีลักษณะเป็นวิหารร่วมสมัยระหว่างศิลปะล้านนาและศิลปะรัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงาม.....นอกจากนั้นวัดพระธาตุดอยจอมทองยังเป็นสถานที่ประดิษฐานเสาสะดือเมืองเชียงราย และต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งอัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียอีกด้วย.....

ก่อนจะขึ้นไปวัดพระธาตุดอยจอมทอง จะแวะวัดพระธาตุดอยงำเมืองก่อนก็ได้ เป็นทางผ่าน...สำหรับการเดินทางขึ้นวัดพระธาตุดอยจอมทองสามารถใช้บริการรถรางของเทศบาลนครเชียงรายซึ่งจะพาเที่ยว 9 สถานที่ในเขตเทศบาล หรือจะใช้รถยนต์ส่วนตัวก็ได้ กรณีอยากออกกำลังกายก็เดินขึ้นทางบันไดซึ่งสูงและชันมาก......