เชิญร่วมงาน ๑ ทศวรรตเปิดประตูสู่วัดแสงแก้วโพธิญาณ แม่สรวย เชียงราย


วัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขอเชิญร่วมงาน ๑ ทศวรรตเปิดประตูสู่วัดแสงแก้วโพธิญาณ และฉลองสมณศักดิ์ พระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระภาวนารัตนญาณ สย.วิ และฉลองอายุวัฒนมงคล ครบ ๓ รอบ ๓๖ ปี ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ - ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐โดยมีกำหนดการจัดงานดังนี้
       
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม พ..๒๕๕๙ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๑๐.๐๐ น.
ขอขมา -ปลงผม
เวลา ๑๔.๐๐ น.
ทำขวัญนาค
เวลา ๑๖.๐๐ น.
บวชเณร
วันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ..๒๕๕๙ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๒๒.๐๐ น.
เริ่มสวดมนต์ข้ามปี
เวลา ๒๔.๐๐ น.
จุดประทีป ปล่อยโคมไฟ ๑,๐๐๐ ดวง
วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๔  ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่
วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๑๐  ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๐๙.๐๐ น.
พระเจ้าหลานเธอฯ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างพระศรีอริยเมตไตรย บรมโพธิญาณ
วันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๐๙.๐๐ น.
บวงสรวงเปิดประตูสู่วัดแสงแก้วโพธิญาณ
เวลา ๑๓.๐๐ น.
บวงสรวงใหญ่ เบิกฟ้า เบิกดิน
เวลา ๑๔.๐๐ น.
พระสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์
เวลา ๑๖.๐๐ น.
พิธีหล่อพระ (รูปเหมือนพระภาวนารัตนญาณ วิ. (ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต)
เวลา ๒๐.๐๐ น.
สมโภช สวดมนต์ตั๋น เทศน์ธรรม สวดเบิก กวนข้าวทิพย์ (พิธีถึงเช้า)
วันจันทร์ที่ ๙ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๐๙.๐๐ น.
แสดงมุทิตาสักการะ พระภาวนารัตนญาณ วิ. (ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต)
เวลา ๑๓.๐๐ น.
พิธีสืบชะตา พิธีฉลองสัญญาบัตร พัดยศ ในราชทินนามที่ พระภาวนารัตนญาณ วิ.”
เวลา ๑๖.๐๐ น.
พระเจ้าหลานเธอฯ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จประทานทุนการศึกษา     
อุปกรณ์การกีฬา และประทานผ้าห่ม แก่นักเรียน และราษฏรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
วันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๐๘.๐๐ น.
ปอยหลวง หัววัดเข้าทั้งวัน
เวลา ๐๙.๐๐ น.
ทำบุญกุฏิ รวยเจริญทรัพย์ ๒
เวลา ๑๔.๐๐ น.
แห่ขบวนครัวตาน
เวลา ๒๐.๐๐ น.
การละเล่น มหรสพ และคอนเสิร์ตของดารา ศิลปินมากมาย
วันพุธที่ ๑๑ มกราคม พ..๒๕๖๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๒
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๐๙.๐๐ น.
พิธีตานเสนาสนะ
เวลา ๒๐.๐๐ น.
การละเล่น มหรสพ และคอนเสิร์ตของดารา ศิลปินมากมาย

มหกรรมไม้ดอกอาเซียน เชียงราย 2016




จังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขอเชิญร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ในงานมหกรรมไม้ดอกอาเซียน เชียงราย 2016 Chiangrai ASEAN Flower Festival 2016 ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2559-8 มกราคม 2560 ชมการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับ พระราชกรณียกิจและพระราชอัจฉริยภาพที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาต่อปวงชนชาวไทย สักการะพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศภูฎาน เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต สัมผัสวัฒธรรมชนเผ่าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดเชียงรายทั้ง 17 ชนเผ่า ณ บริเวณข่วงวัฒนธรรมล้านนาและอาเซียน กาดหมั้ว ครัวล้านนา ต้นฉบับอาหารพื้นเมืองและอาหารของชนชาติพันธุ์ การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน "เชียงรายขายดี" ณ สวนไม้งามริมน้ำกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวง) 


น้ำตกภูซาง น้ำตกอุ่น แห่งเดียวในประเทศไทย จังหวัดพะเยา

อุทยานแห่งชาติภูซาง... มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้ายในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ป่าน้ำเปื่อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาวในท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขามีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 178,049.62 ไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 98 ของประเทศไทย

น้ำตกภูซาง...เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากเป็นน้ำตกที่มีน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวที่พบในประเทศไทย มีอุณหภูมิสูงถึง 35-36 องศา น้ำตกตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยผาหม่น เกิดจากสายน้ำอุ่นและปราศจากกลิ่นกำมะถันที่ไหลมาจากผาหินปูนสูง 25 เมตร ใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตที่ใสราวกับกระจก จึงเหมาะสำหรับการลงแช่น้ำให้อบอุ่น สบายตัว เหนือน้ำตกภูซาง มีเส้นทางชมป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1 กิโลเมตร และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกมากมาย อาทิเช่น ดอยผาคำ ถ้ำน้ำดั้น ถ้ำน้ำลอด ถ้ำผาแดง น้ำตกห้วยโป่งผา และบ่อน้ำซับอุ่น

การเดินทางของสายน้ำอุ่น.... สายน้ำของน้ำตกภูซาง เดินทางลัดเลาะมาตามลำห้วยน้ำฮวก ไหลผ่านบ่อน้ำร้อนที่เรียกว่า "บ่อซับน้ำอุ่น" ตกลงสู่หน้าผาหินปูนความสูง 15 เมตร กลายเป็น "น้ำตกอุ่น" ที่มีอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส แล้วไหลรวมกับลำน้ำเปื่อย เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนต่อไป 

ระหว่างเส้นทางสายน้ำอุ่นนี้ได้ผ่านป่าที่มีน้ำขังตลอดปี มีซากพืชสลายทับถมกันแน่นหลายชั้น พืชหลากหลายสามารถปรับตัวขึ้นอยู่ในพื้นที่ อาทิ คล้า คลุ้ม เตยเหาะ ลำเก็ง แข้งไก่ กรวย และทองหลางป่า ป่าชนิดนี้พบได้ไม่มากในเมืองไทย มีชื่อว่า "ป่าพรุ" นอกจากนี้ยังไหลผ่านป่าดงดิบแล้งที่สมบูรณ์ด้วยไม้ผลัดใบ และไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ หลากหลายชั้นอายุที่ร่วมกับป่าพรุในการรักษาต้นน้ำลำธารของน้ำตกแห่งนี้...สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซาง 0-5440-1099, 09-3293-5099 (ขอบคุณ...ข้อมูลจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูซาง)












Doi Chang Classic 2016 ปั่นด้วยใจไปดอยช้าง เยือนถิ่นกาแฟ 2 เชียงราย

อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสิงห์คอร์เปอเรชั่น และชมรมจักรยานแม่สรวยไซคลิ่ง เชิญร่วมปั่นจักรยาน 'ปั่นด้วยใจ ไปดอยช้าง เยือนถิ่นกาแฟ ครั้งที่ 2" ในวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2559 โดยเริ่มจากศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถึงจุดเส้นชัยที่ลานกาแฟ โรงงานกาแฟดอยช้าง หมุู่บ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย รวมระยะทาง 24 กิโลเมตร ปั่นบนเส้นทางสุดคลาสสิก สัมผัสกับวิวสวยของภูเขาที่สูงเฉียดฟ้าสวยงามตลอดเส้นทางที่ปั่น และสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นของอำเภอแม่สรวย เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ถึง 27 พฤศจิกายน 2559 รับสมัครจำนวนจำกัด 1,000 คน ค่าสมัครท่านละ 500 บาท โอนชำระผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขาแม่สรวย เลขที่บัญชี 511-0521431 ชื่อบัญชีนางชมพูนุช จอมกัน รับเสื้อปั่นสุดเก๋เจ้าภุูเขาคลาสสิคแบบเสื้อลายจุดดำขาว รับโล่ห์เกรียติยศเข้าเส้นชัย สถิติลำดับ และบริการอาหาร เครื่องดื่ม ตลอดเส้นทางการปั่นจากสิงห์คอร์เปอเรชั่น....

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณสามแปง 087-303-5483 คุณอู๋ 088-854-1912 คุณเอ็ม 089-553-3919 และคุณกู่ 088-852-7696 สำหรับผู้ที่รักการปั่นจักรยาน รักการออกกำลังกาย อย่าลืมปั่นไปดอยช้างด้วยกันนะค่ะ....


วัดสวนดอก (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร

วัดสวนดอก สร้างขึ้นในภายในเวียงสวนดอกซึ่งเป็นเขตพระราชอุทยานในสมัยราชวงศ์มังราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัยในปีพ.ศ.1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ในวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

ในสมัยราชวงศ์มังรายวัดสวนดอกมีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นราชวงศ์มังรายบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่าทั้งเกิดจลาจลวุ่นวายวัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไปวัดสวนดอกได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด

วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระประยูรญาติมาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

วิหารหลวง มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วา สร้างเมื่อ พ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย และเจ้าแก้วนวรัฐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีลักษณะพิเศษ คือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงามขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระเจ้าค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระเจ้ากือนาธรรมิกราชโปรดให้ช่างสร้างขึ้นด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระองค์ขณะประทับยืน หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร ข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า "สร้างขึ้นโดยบัญชาของพระราชมารดาของพระเจ้ากือนา" เพื่อถวายไว้แทนพระเจ้ากือนาเมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุหนึ่งของการเรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า “พระเจ้าค่าคิง

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระอารามหลวง" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง "พระเจดีย์ทรงลังกา" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

กู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ สถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย พระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ และผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตน เมื่อ พ.ศ.2452 ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478 ในปี พ.ศ. 2451-2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระประยูรญาติทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) เป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากในฤดูฝน น้ำก็มักจะเข้าไปท่วมขังอยู่เป็นประจำ จึงย้ายมาตั้งไว้ที่วัดสวนดอกจนตราบทุกวันนี้

วิหารหลวง

พระเจ้าค่าคิง
พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา
กู่เจ้าหลวงเชียงใหม่





ขอเชิญร่วมบริจาคช่วยเหลือเร่งด่วน วัดแม่พริก แม่สรวย เชียงราย

พระอธิการเพชร จนทวณโณ เจ้าอาวาสวัดแม่พริก (มิ่งเมือง) ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญบริจาคช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อบูรณะศาลาการเปรียญที่เสียหายทั้งหลังจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดถล่ม ทำให้ต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกด้านหลังล้มทับศาลาการเปรียญซึ่งใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพชรมิ่งเมืองได้รับความเสียหาย....ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พระอธิการเพชร จนทวณโณ เจ้าอาวาสวัดแม่พริก (มิ่งเมือง) โทร.081-035-9109  วัดแม่พริก (มิ่งเมือง) 26 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ชื่อบัญชี วัดแม่พริก หมายเลขบัญชี 511-0-41029-6  ธนาคารกรุงเทพ สาขาแม่สรวย 











เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี วัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย



พระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 โดยมีกำหนดการดังนี้
วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เวลา  ๐๗.๐๐   น. ทำบุญตักบาตร พระภิกษุ-สามเณร
เวลา  ๑๓.๐๐   น. บวงสรวงเทพเทวดา
เวลา  ๑๕.๓๐   น. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์/นั่งปรกอธิษฐานจิต
                         พิธีเททอง หล่อพระพุทธเมตตา หน้าตัก ๕๙ นิ้ว
เวลา  ๑๙.๓๙  น. พิธีเบิกเนตรพระพุทธมหาจักรพรรดิโพธิญาณ ถึงเช้า
เวลา  ๒๐.๐๐   น. ชมมินิคอนเสิร์ต ดารา หมอก้อง สรวิทย์

วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ 
เวลา  ๐๗.๐๐ น. ทำบุญตักบาตร พระภิกษุ-สามเณร
เวลา  ๐๙.๓๐ น. เจริญพระพุทธมนต์
เวลา  ๑๑.๓๐ น. เคลื่อนขบวนแห่กฐิน
เวลา  ๑๓.๓๐ น. พิธีทอดกฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณ
เวลา  ๒๐.๐๐ น. มหรสพ การแสดงคอนเสิร์ต นักร้อง ดารา ก่อนบ่ายฯ
                       และเดอะคอมมีเดียน นำทีมโดย ดร.เป็ด เชิญยิ้ม, เด๋อ ดอกสะเดา, หนูเล็ก ก่อนบ่ายฯ
                       นุ้ย เชิญยิ้ม, คุณอั้ม นันทิยา, คุณรุ่ง สุริยา, ลูลู่ ลาล่า และอีกมากมาย
                       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.085-614-3764 หรือ 053-602-667



ตลาดต้องชม แห่งแรกของจังหวัดเชียงราย กาดม้งโป่งนก เวียงป่าเป้า

"ชนเผ่าม้ง" เป็นอิสระชนเดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม  เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณ พ.ศ.๒๔๐๐ โดยมี ๒ กลุ่มได้แก่ ม้งเขียวและม้งขาว ประชากรของม้งในประเทศไทยมีมากเป็นอันดับ ๒ รองจากกะเหรี่ยง ชนเผ่าม้งนิยมสร้างบ้านตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง แต่ในปัจจุบันม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มเขาหรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่เป็นแบบเรียบง่ายเพราะคลุกคลีกับธรรมชาติ อาชีพหลักทำไร่ ทำสวน มีลักษณะการแต่งกาย วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม การละเล่นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

"ตลาดต้องชม กาดม้งโป่งนก" เกิดจากความร่วมมือและรวมกลุ่มของราษฏรหมู่ที่ ๖ บ้านโป่งนก หมู่ ๑๓ บ้านโป่งนกเหนือ และหมู่ ๗ บ้านแม่ตะละ มีความต้องการสร้างร้านค้าชุมชน (กาดม้ง) เพื่อจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร สินค้า/ผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยอำเภอเวียงป่าเป้าได้สนับสนุนงบประมาณ เป็นค่าวัสดุก่อสร้างตลาดต่อมาอำเภอเวียงป่าเป้าได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลสันสลีดูแลและพัฒนาตลาด ซึ่งในอนาคตมีโครงการสร้างศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่าม้ง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์วิถีชีวิตของชนเผ่าม้งให้เป็นที่รู้จัก และปลูกพืชท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวรอบบริเวณกาดม้งโป่งนก อีกทั้งเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของตำบลสันสลี (เส้นทางท่องเที่ยวดอยหมอกแดนวิไล) อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 

"ตลาดต้องชม กาดม้งโป่งนก" เปิดเป็นทางการ เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ ตลาดเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐- ๑๖.๐๐ น. ผู้ประกอบการกว่า ๗๐ ร้านค้า สินค้าที่จำหน่ายใน "ตลาดต้องชม" แห่งแรกของจังหวัดเชียงราย ที่เป็นเอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน เช่น ขนมโป๊งเหน่ง ผ้าปักลายม้ง เสื้อผ้าพื้นเมือง (ชนเผ่าม้ง) กระเป๋า เครื่องประดับ ของที่ระลึก สมุนไพร รวมทั้งสินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม OTOP อาทิ เก้าอี้ไม้ ตะกร้าจักสาน ไม้กวาด มุ่งเน้นการแต่งกายพื้นบ้านของชนเผ่าม้ง หรือวัฒนธรรมร่วมสมัย สร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกหลานได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อๆ กันไป สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้นสามารถก้าวไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม

ตลาดต้องชม กาดม้งโป่งนก (มีของดี วิถีดอย คอยบริการ) เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวและมีชื่อเสียงของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บริเวณด่านโป่งเหนือ เขตติดต่อระหว่างอำเภอเวียงป่าเป้าและอำเภอแม่สรวยจังหวัดเชียงราย แนะนำเมื่อมาเที่ยวเชียงรายนะค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจาก...ดอยหมอกแดนวิไล)
















วัดกลางเวียง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย








วัดกลางเวียง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงรายพอดีจึงได้สถาปนาสะดือเวียง (เสาหลักเมือง) ขึ้นและประดิษฐานสะดือเวียงในซุ้มมณฑป ด้านนอกมีรูปปั้นกุมภัณฑ์ 2 ตนทำหน้าที่พิทักษ์สะดือเวียงตามคติความเชื่อของชาวล้านนา (ตามปกติจะมีพิธีไหว้สะดือเวียงในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ของทุกปี) (Wat Klang Wieng is located in the center of Chiang Rai, then the city navel of Chiang Rai is built here within the pavilion. Outside the pavilion, there are 2 giants which are responsible to protect the citys umbilicus in accord with Lannas belief)

วิหารวัดกลางเวียง เป็นศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ ประดับช่อฟ้า ใบระกา และหน้าบันตกแต่งด้วยเครื่องไม้แกะสลักลงรักปิดทองภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานซึ่งลงรักปิดทองเหลืออร่าม.(Temple Hall is built in contemporary Lanna style. It is decorated with sky tassels, tooth like ridges on the sloping edges of a gable, and the pediment is carved and covered with the lacquer work. Inside the hall, there is a principle Buddha image which is covered with glittering golden)

พระธาตุช้างค้ำ มีรูปแบบร่วมสมัย คือ มีการประดับจระนำซุ้มด้วยพระพุทธรูปจำนวนมาก และฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างทรงเครื่องรายรอบ อันเป็นคติช้างค้ำจุนจักรวาลที่นิยมในเจดีย์สายลังกา ลักษณะพระธาตุแบบล้านนา คือ ฐานรองรับองค์ระฆังอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ส่วนฐานสูง และองค์ระฆังเล็ก (Charng Kham Stupa is contemporary designed that is; decorated with a lot of Buddha images inside niches and its base is surrounded by adorned elephants that is popularly built in Sri Lankan bell-shaped stupa. It is the symbolic of mythology that they hold up the earth)

หอไตร (สถานที่เก็บพระไตรปิฏก) สะท้อนถึงความตั้งมั่นในพุทธศาสนา หอไตรหลังนี้เป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นอาคารสูง หลังคาทรงจั่ว ประดับด้วยเครื่องไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม และมีระเบียงโดยรอบ (Scripture library (A place for keeping Pali Buddhist scripture or Tripitaka) The library is contemporary Lanna style, designed nicely with high-triangle roof and golden wood carved decoration. It is also surrounded by the balcony)

วัดกลางเวียง สร้างมาแล้วประมาณ ๕๖๐ ปี (นับถึง พ.ศ.๒๕๓๕) เดิมชื่อว่า "วัดจั๋นต๊ะโลก" เปลี่ยนชื่อจากวัดจั๋นต๊ะโลกเป็นวัดกลางเวียง เมื่อสร้างเมืองเชียงราย ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๑๗ เมื่อสร้างเสร็จวัดจาก ๔ มุมเมือง ใจกลางเมืองตกที่วัดจั๋นต๊ะโลก จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดจั๋นต๊ะโลก เป็นวัดกลางเวียงตั้งแต่นั้นมา ทางการได้สร้างสะดือหรือเสาหลักเมืองไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้ชาวเชียงรายได้กราบไหว้สักการะบูชา แต่หลักเมืองที่ทางการสร้างนี้ได้ล้มไปนานแล้วเพราะก่ออิฐฉาบด้วยดิน มีความสูงประมาณ ๑ เมตร ๕๐ เซนติเมตร ข้างในมีที่ตั้งเครื่องสักการะบูชา ปี พ.ศ.๒๕๓๕ พระครูศาสนากิจโกศล เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาได้สร้างหลักเมืองขึ้นมาใหม่แทนของเดิมและตั้งอยู่ที่เดิมสร้างมณฑปครอบไว้ ดังที่เห็นปัจจุบันนี้ (ขอบคุณข่้อมูลจาก...วัดกลางเวียง)



ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2559 เชียงราย

เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2559 ที่ผ่านมา เทศนครเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในชุมชนต่างๆ จัดงานประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษา ประจำปี 2559 เพื่ออนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนา คือ "วันเข้าพรรษา" ชาวพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะนิยมถวายเทียนพรรษา และอธิษฐานบำเพ็ญบุญชำระจิตใจตลอดระยะเวลา 3 เดือนเพื่อเป็นกุศลบารมีแก่ตนเอง ปีนี้วันเข้าพรรษาตรงกับวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2559 เก็บภาพบรรยากาศของงานพิธีแห่เทียนจำนำพรรษาของเชียงรายมาฝากนะค่ะ...