พุทธมณฑสมโภช 750 ปีเมืองเชียงราย

"พุทธมณฑลสมโภช 750 ปีเมืองเชียงราย"เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงรายที่สวยงามและยิ่งใหญ่เมื่อสร้างเสร็จ ซึ่ง ณ ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงของการก่อสร้างพระประธานพระพุทธรูปสิงห์หนึ่งที่สร้างองค์ใหญ่มาก พุทธสมโภช 750 ปีเมืองเชียงราย ตั้งอยู่ที่บ้านต้นง้าว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ระยะทางจากปากทางถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ กรณีเดินทางมาจากเชียงใหม่ พุทธมณฑลสมโภช 750 ปีก็จะถึงก่อนวัดร่องขุ่นที่อยู่ไม่ไกลให้เลี้ยวซ้าย ระยะทางเข้าไปพุทธมณฑลสมโภช 750ปีเมืองเชียงราย 4กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านขับไปเรื่อยๆ ให้สังเกตป้ายบอกทางเข้าพุทธมณฑลเนื่องจากติดไว้น้อยมากอาจขับผ่านพุทธมณฑลไปได้หรือให้สังเกตพระประธานองค์ใหญ่มากซึ่งสามารถมองเห็นจากถนนภายในหมู่บ้านก็ได้...

ทางแยกเข้าพุทธมณฑลก่อนถึงวัดร่องขุ่น

พระประธานพระพุทธรูปพระสิงห์หนึ่ง
อาคารสำนักงานพุทธมณฑลสมโภช 750 ปีเมืองเชียงราย








วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ที่มีความสำคัญทั้งในทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม คู่กันมากับจังหวัดเชียงรายมาแต่โบราณกาล นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าถือนา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาครองเมืองเชียงรายราวพุทธศักราช 1888-1943 เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ พระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาเป็นเวลา 20 ปี ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดพระสิงห์"

พระพุทธสิหิงค์องค์นี้ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช 700 ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา 1,150ปี จากนั้นจึงถูกอัญเชิญมาประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ.2338 จึงได้มาประดิษฐานที่พระนั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สิ่งสำคัญในวัดพระสิงห์ ได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถ ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน พระเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยเช่นเดียวกัน พระพุทธบาทจำลองจำหลักบนแผ่นหินทราย มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช หอระฆังอันสวยงาม ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา และต้นสาละลังกาที่กำลังออกดอกอย่างสวยงามและมีกลิ่นหอม....




เจดีย์รอยพระบาท




ต้นศรีมหาโพธิ์
ต้นสาละลังกา




กฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ผ่านพ้นไปกับงานบุญกฐินสามัคคี  ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี เมื่อวันที่ 3-4 พศจิกายน 2555 โดยพระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ เพื่อสมทบทุนสร้างหอพระแก้วไม้สัก กุฏิกรรมฐาน ปรับแต่งภูมิทัศน์รอบรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย เป็นองค์เนื้อโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตัก 9 เมตร สูง 12 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท....ซึ่งได้ดำเนินการจัดสร้างองค์ครูบาศรีวิชัยจนสำเร็จ ประดิษฐานไว้ ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ พุทธศาสนิกชนสามารถเดินทางมากราบนมัสการได้ และสร้างถาวรวัตถุภายในวัด เช่น พระวิหาร พระอุโบสถ หอไตร ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ และกำแพงวัด
คำว่า "กฐิน" มีความหมายเกี่ยวข้องกันถึง 4 ประการ คือ
1. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่า สะดึงก็ได้
2. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไม้นั้น
3. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ ในการถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร
4. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่
    ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

กฐินที่เป็นชื่อกรอบไม้
กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้นั้นเนื่องจากในครั้งพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียกผ้านุ่งว่า "สบง" ผ้าห่มว่า "จีวร" ผ้าห่มซ้อนว่า "สังฆาฏิ" การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัด เย็บ ย้อมทำให้เสร็จใน วันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้น ก็รื้อเก็บไว้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อ ๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้ เรียกว่า "เดาะ" ฉะนั้นคำว่า "กฐินเดาะ" หรือ "เดาะกฐิน" จึงหมายถึงการรื้อไม้ แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า

กฐินที่เป็นชื่อของผ้า
หมายถึง  ผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือ ผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้

กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ
คือ การถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3เดือน เพื่อ สงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่ง หรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาด หรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า "ทอดกฐิน" คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้ว กล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทานคือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล 1 เดือน ดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อของผ้า ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถืงว่า หาโอกาสทำได้ยาก

กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม
คือ กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการ มอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะ ในสมัยพุทธกาล การหาผ้า การทำจีวรทำได้ยากไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้เป็นจีวรได้ตลอดฤดูหนาว คือ จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

สำหรับสถานที่ตั้งของวัดแสงแก้วโพธิญาณ จะตั้งอยู่ที่บ้านป่าตึงงาม ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ระยะทาง 1.5กิโลเมตร  จากปากทางเข้าวัดแสงแก้วโพธิญาณ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวย  ประมาณ 9กิโลเมตร กรณีเดินทางมาจากตัวเมืองเชียงราย...วัดแสงแก้วโพธิญาณจะอยู่ด้านซ้ายมือ..

ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต เจ้าอาวาส
ครูบาศรีวิชัย องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
















ประเพณีตานก๋วยสลาก

"ตานก๋วยสลาก" เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี บางวัดก็อาจไม่จัดในปีนั้นแต่จะเป็นการตานเงินก้อนแทน ส่วนคำว่า "ตานก๋วยสลาก" จะเรียกกันหลายชื่อกิ๋นข้าวสลาก กิ๋นสลาก ตานสลากแล้วแต่จะเรียก ก่อนที่จะถึงวันตานก๋วยสลากก็จะเป็นวันดาสลาก....

"วันดาสลาก" จะเป็นวันที่ทุกบ้านจะเตรียมต้นสลากหรือก๋วยสลากหรือเรียกอีกอย่างว่าชะลอมที่สานด้วยไม้ไผ่และตกแต่งก๋วยสลากอย่างสวยงามด้วยของกินของใช้ เช่น แชมพูซอง พริก หอม ข้าวสาร เกลือ สมุด ดินสอ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน แก้วน้ำพลาสติก ขนม มาม่า ไม้ขีดไฟ แป้งซอง กระจก หวี ถ้วย จาน ช้อน ผงชักผ้า ฯลฯ ส่วนบนสุดก็จะเสียบเงินด้วยไม้ไผ่เหลาที่ผ่าตรงกลางสำหรับนำเงินมาเสียบ..ส่วนยอดเงินที่จะทำบุญจะใส่เยอะหรือน้อยก็ตามฐานะของเรา ต้นสลากจะมีหลายแบบแล้วแต่ว่าแต่ละบ้านจะถวายวัดด้วยอะไรที่วัดขาดไม่มีก็ได้ วันดาสลากจะเป็นวันที่ญาติหรือเพื่อนมาเที่ยวหาเพื่อมาร่วมทำบุญและช่วยกันตกแต่งต้นสลากด้วยกัน ส่วนอีกวันทุกหลังคาเรือนก็จะนำครัวตานไปทำบุญที่วัด สำหรับวันนี้ก็จะมีต่างวัดที่ได้รับนิมนต์มาร่วมงานพร้อมกับครัวทานและคณะฟ้อนของแม่บ้านมาด้วย...

"ตานก๋วยสลาก" หมายถึง การถวายทานด้วยวิธีการจับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอม    การถวายตานก๋วยสลากมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการอุทิศให้เทพยดาและผู้ที่ล่วงลับ และอีกอย่างเป็นการอุทิศให้ตนเองเมื่อล่วงลับไปในภายภาคหน้า การถวายก๋วยสลากถือกันว่าจะได้อานิสงส์แรง เพราะเป็นการทำบุญแบบสังฆทานผู้ถวายไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับว่าจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณรรูปใด...