พิธีสืบชะตา ส่งเคราะห์บ้าน ป่าลัน แม่สรวย เชียงราย

พิธีสืบชะตา....เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวล้านนา เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุบ้านเมืองหรือต่อชีวิตคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ได้ตำแหน่งใหม่ วันเกิดที่ครบรอบ 12 ปี ฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา
2.สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยหรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป คนในหมู่บ้านพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
3.สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน จะด้วยตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ หรือเพราะเหตุปั่นป่วนวุ่นวาย การจลาจล เกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง ฯลฯ เจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีให้อายุของเมืองดำเนินต่อเนื่องสืบไป

ก่อนวันเริ่มพิธีทุกหลังคาเรือนจะโยงสายสิญจน์จากวัดหรือสถานประกอบพิธีผ่านไปยังบ้านแต่ละหลังจนครบทั้งหมู่บ้าน สำหรับสิ่งของที่จะนำไปใส่สะตวง เช่น ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน ข้าวสุก อาหารคาว หวาน เมี้ยง เกลือ พริกแห้ง พริกหนุ่ม กล้วยสุกหรือกล้วยดิบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ข้าวต้มมัด น้ำส้มป่อย และทรายมาร่วมพิธี และพระสงฆ์ประกอบพิธีเสร็จทุกคนจะนำน้ำส้มป่อย ทราย และสายสิญจน์กลับไปบ้าน ทรายและน้ำส้มป่วยใช้โปรยรอบบ้าน เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัว และตนเอง
         














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น