วัดกลางเวียง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงรายพอดีจึงได้สถาปนาสะดือเวียง (เสาหลักเมือง) ขึ้นและประดิษฐานสะดือเวียงในซุ้มมณฑป ด้านนอกมีรูปปั้นกุมภัณฑ์ 2 ตนทำหน้าที่พิทักษ์สะดือเวียงตามคติความเชื่อของชาวล้านนา (ตามปกติจะมีพิธีไหว้สะดือเวียงในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ของทุกปี) (Wat Klang Wieng is located in the center of Chiang Rai, then the city navel of Chiang Rai is built here within the pavilion. Outside the pavilion, there are 2 giants which are responsible to protect the citys umbilicus in accord with Lannas belief)
วิหารวัดกลางเวียง เป็นศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ ประดับช่อฟ้า ใบระกา และหน้าบันตกแต่งด้วยเครื่องไม้แกะสลักลงรักปิดทองภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานซึ่งลงรักปิดทองเหลืออร่าม.(Temple Hall is built in contemporary Lanna style. It is decorated with sky tassels, tooth like ridges on the sloping edges of a gable, and the pediment is carved and covered with the lacquer work. Inside the hall, there is a principle Buddha image which is covered with glittering golden)
พระธาตุช้างค้ำ มีรูปแบบร่วมสมัย คือ มีการประดับจระนำซุ้มด้วยพระพุทธรูปจำนวนมาก และฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างทรงเครื่องรายรอบ อันเป็นคติช้างค้ำจุนจักรวาลที่นิยมในเจดีย์สายลังกา ลักษณะพระธาตุแบบล้านนา คือ ฐานรองรับองค์ระฆังอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ส่วนฐานสูง และองค์ระฆังเล็ก (Charng Kham Stupa is contemporary designed that is; decorated with a lot of Buddha images inside niches and its base is surrounded by adorned elephants that is popularly built in Sri Lankan bell-shaped stupa. It is the symbolic of mythology that they hold up the earth)
หอไตร (สถานที่เก็บพระไตรปิฏก) สะท้อนถึงความตั้งมั่นในพุทธศาสนา หอไตรหลังนี้เป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นอาคารสูง หลังคาทรงจั่ว ประดับด้วยเครื่องไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม และมีระเบียงโดยรอบ (Scripture library (A place for keeping Pali Buddhist scripture or Tripitaka) The library is contemporary Lanna style, designed nicely with high-triangle roof and golden wood carved decoration. It is also surrounded by the balcony)
วัดกลางเวียง สร้างมาแล้วประมาณ ๕๖๐ ปี (นับถึง พ.ศ.๒๕๓๕) เดิมชื่อว่า "วัดจั๋นต๊ะโลก" เปลี่ยนชื่อจากวัดจั๋นต๊ะโลกเป็นวัดกลางเวียง เมื่อสร้างเมืองเชียงราย ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๑๗ เมื่อสร้างเสร็จวัดจาก ๔ มุมเมือง ใจกลางเมืองตกที่วัดจั๋นต๊ะโลก จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดจั๋นต๊ะโลก เป็นวัดกลางเวียงตั้งแต่นั้นมา ทางการได้สร้างสะดือหรือเสาหลักเมืองไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้ชาวเชียงรายได้กราบไหว้สักการะบูชา แต่หลักเมืองที่ทางการสร้างนี้ได้ล้มไปนานแล้วเพราะก่ออิฐฉาบด้วยดิน มีความสูงประมาณ ๑ เมตร ๕๐ เซนติเมตร ข้างในมีที่ตั้งเครื่องสักการะบูชา ปี พ.ศ.๒๕๓๕ พระครูศาสนากิจโกศล เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาได้สร้างหลักเมืองขึ้นมาใหม่แทนของเดิมและตั้งอยู่ที่เดิมสร้างมณฑปครอบไว้ ดังที่เห็นปัจจุบันนี้ (ขอบคุณข่้อมูลจาก...วัดกลางเวียง)