วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่ เจดีย์องค์ใหญ่ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคลพระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้วภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 

วัดนี้เดิมพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนัก พระวันรัตนมหาเถรในลังกาทวีป เรียกนามนิกายนี้ว่า "คณะป่าแก้ว" จึงได้นามว่า "วัดป่าแก้ว" ต่อมาคนทั้งหลายพากันเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนนี้ก็เจริญแพร่หลายพระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์กายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตนมีตำแหน่ง เป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระคือสังฆราชฝ่ายซ้ายและวัดนี้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ชื่อว่า"วัดเจ้าพญาไท" สำหรับพระอุโบสถของวัดนี้พระเทียรราชาเคยไปเสี่ยงเทียนอธิฐานแข่งบารมีกับขุนวงศาธิราชก่อนที่จะได้ราชสมบัติในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระมหาอุปราชาแห่งพม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2135 หมายจะปราบปรามเมืองไทยไว้ในอำนาจ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพออกไปต่อสู้ข้าศึก จนได้ชนช้างกันกับพระมหาอุปราชาที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะทรงฟันคู่ต่อสู้สิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่ครั้งนั้นไม่สามารถจะตีกองทัพของข้าศึกให้แตกยับเยินไปได้ เนื่องจากกองทัพต่างๆ ติดตามไปไม่ทันพระองค์ ครั้นเมื่อเสร็จการสงครามแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงพิโรธแม่ทัพนายกองเหล่านั้น จะให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไปไม่ทันเสียให้หมด สมเด็จพระวันรัตนวัดป่าแก้วถวายพระพรขอพระราชทานโทษไว้แล้วทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ที่ได้มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้ เจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นที่วัดนี้ขนานนามว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" ต่อมาจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดใหญ่ชัยมงคล" มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันพระเจดีย์ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมแผ่นดินทรุดจึงทำให้พระเจดีย์ทุกองค์เกิดการเอียง แต่จะมองเห็นได้เมื่อเดินขึ้นไปบนเจดีย์องค์ใหญ่ที่สูงมาก













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น