ไทยวนหรือโยนก....มีถิ่นฐานกำเนิดอยู่ที่เมืองเชียงแสน เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนา มีความรุ่งเรืองทั้งทางด้านการปกครอง ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม เมื่ออาณาจักรล้านนาเสื่อมอำนาจลง พม่าได้เข้ามามีอำนาจการปกครองจนสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ล้อมตีเมืองเชียงแสน แล้วเผาทำลายบ้านเมืองเพื่อมิให้เป็นที่มั่นแก่ข้าศึกพม่าอีกต่อไป จึงได้แบ่งชาวเมืองอพยพไปอยู่เมืองเวียงจันทร์ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองน่าน ที่เหลือโปรดเกล้าฯ ให้อพยพลงมาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณลุ่มน้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี
ชาวไทยวนมีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานาน และใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารึกบนใบลาน เรียกอักษรนี้ว่า "หนังสือยวน" ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า "จ๊อย" เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียวหรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อยอาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดกคำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี คนไทยวนนับถือพระพุทธศาสนาและนับถือเครือญาตเป็นสำคัญ ดังเช่นกล่าวว่า "หนีจากเมืองพี่น้องจักไปเปิ้ง (พึ่ง) ไผ หนีจากไปเปิ้ง (พึ่ง) หึ่งห้อย" คนไทยวนจึงเคารพเครือญาตและอาวุโสเป็นสำคัญ
ชาวไทยวนได้สืบทอดความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของพุทธศาสนา และการนับถือ "ผี" จึงได้ทำเครื่องมือไว้บูชา คือ ตุง และโคม "ตุง" เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้าด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์ โคม สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ "โคมแขวน" จะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประดับประดา มักจะทำเป็นรูปทรงต่างๆ มีความเชื่อว่า หากจุดโคมในเวลากลางคืนจะเป็นการบูชาเทวดาที่รักษาบ้านช่อง "โคมลอย" นั้นจะทำพิเศษให้สามารถลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เหมือนบอลลูน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกที่ติดตามตัวเราให้ออกไปให้หมด...(ข้อมูลจากการจัดแสดงสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความเชื่อ งานมหกรรมไม้ดอกอาเชียนเชียงราย 2013)
ชาวไทยวนมีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานาน และใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารึกบนใบลาน เรียกอักษรนี้ว่า "หนังสือยวน" ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า "จ๊อย" เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียวหรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อยอาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดกคำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี คนไทยวนนับถือพระพุทธศาสนาและนับถือเครือญาตเป็นสำคัญ ดังเช่นกล่าวว่า "หนีจากเมืองพี่น้องจักไปเปิ้ง (พึ่ง) ไผ หนีจากไปเปิ้ง (พึ่ง) หึ่งห้อย" คนไทยวนจึงเคารพเครือญาตและอาวุโสเป็นสำคัญ
ชาวไทยวนได้สืบทอดความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของพุทธศาสนา และการนับถือ "ผี" จึงได้ทำเครื่องมือไว้บูชา คือ ตุง และโคม "ตุง" เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้าด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์ โคม สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ "โคมแขวน" จะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประดับประดา มักจะทำเป็นรูปทรงต่างๆ มีความเชื่อว่า หากจุดโคมในเวลากลางคืนจะเป็นการบูชาเทวดาที่รักษาบ้านช่อง "โคมลอย" นั้นจะทำพิเศษให้สามารถลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เหมือนบอลลูน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศกที่ติดตามตัวเราให้ออกไปให้หมด...(ข้อมูลจากการจัดแสดงสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความเชื่อ งานมหกรรมไม้ดอกอาเชียนเชียงราย 2013)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น