ชนชาติพันธุ์ปะหล่อง

ประวัติความเป็นมา....ปะหล่อง เป็นชนเผ่าที่อพยพจากเมียนมาร์เข้าสู่ไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า "ดาละอั้ง" คำว่า ปะหล่องเป็นภาษาไทยใหญ่ ได้มีปะหล่องจำนวนประมาณ 2,000 คน อพยพมารวมกันที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ บริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่หมู่บ้านนอแล

บ้านปะหล่องโดยทั่วไป.... จะเป็นบ้านแบบยกขึ้น ความสูงประมาณ 1-3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของไหล่เขา ก่อสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น เสาทำด้วยไม้จริง พื้นและฝาใช้ฟากไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาพื้นที่ใช้สอยประกอบด้วยห้องเอนกประสงค์ ซึ่งใช้สำหรับการรับแขก และหุงหาอาหาร บริเวณด้านในสุดเป็นส่วนนอนของสมาชิกในครอบครัว มีเตาไฟอยู่กลางห้องและหิ้งพระอยู่ที่หัวนอน

ศาสนาและความเชื่อ....ชาวปะหล่องได้ชื่อว่า เป็นกลุ่มชนที่ยึดถือคติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตของชาวบ้านอยู่กันอย่างสุขสงบ และยังคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธโดยเชื่อว่าวิญญาณโดยทั่วไปจะมี 2 ระดับระดับหนึ่งเรียกว่า "กาบู" เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิตอีกระดับหนึ่งคือ "กานำ" เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ

การบูชาผีเจ้าที่....จะกระทำปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อนเข้าพรรษา 1 ครั้ง และช่วงก่อนออกพรรษาอีก 1 ครั้ง พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษาเรียกว่า "เฮี้ยงกะน่ำ" มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่หรือเป็นการย้ำแก่ผีเจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้านจะไม่มีการเอาผัวเอาเมีย หรือมีพิธีแต่งงานเกิดขึ้น จากนั้นจึงทำพิธี "กะปี๊ สะเมิง" ปิดประตูศาลผีเจ้าที่เมื่อใกล้จะออกพรรษาชาวบ้านก็จะทำพิธี "แฮวะ ออกวา" คือบูชาผีเจ้าที่อีกครั้งหนึ่งเพื่อทำการเปิดประตูศาลผีเจ้าที่หรือ "วะ สะเมิง" เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าช่วงฤดูที่ชาวบ้านจะมีการแต่งงานกันมาถึงแล้วและในพิธีแต่งงานนี้จะมีการเชื้อเชิญผีเจ้าที่ออกไปรับเครื่องเซ่นบูชาด้วย...(ข้อมูลจากการจัดแสดงสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความเชื่อ งานมหกรรมไม้ดอกอาเชียนเชียงราย 2013)


















2 ความคิดเห็น:

  1. ประทับใจครับ น่าท่องเที่ยวมาก เดินทางคงไม่ลำบากนะครับ มีโอกาสเวลา ต้องไปท่องเทื่ยวครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เมืองไทยมีที่ท่องเที่ยวมากมาย มีสิ่งต่างๆ ให้ดู ให้ศึกษาอีกมากมาย..ขอบคุณที่ติดตามชมนะค่ะ..!!!

      ลบ