ชนชาติพันธุ์มัง

เผ่ามัง....ที่คนไทยเรียกว่า "แม้ว" นั้นประกอบด้วยชนสองพวกซึ่งเรียกตนเองว่า "ม้งเดียว" (ม้งขาว) และ "มังจัว" (มังเขียว) ซึ่งมนุษย์วิทยาถือว่าเป็นสองสาขาย่อยของชนเผ่าเมี้ยว ซึ่งส่วนใหญ่ยังตั้งรกรากอยู่ในประเทศจีน ภาษาศาสตร์จัดมังอยู่ในสาขาเมี้ยว-เย้า ของตระกลูจีน-ธิเบต และพบว่ามีคำที่ยืมมาจากภาษายูนนาน ลาวและไทยปนเปอยู่ในภาษามังมากและชาวมังก็มักจะเรียนพูดภาษาของคนใกล้ตัว เช่น ลาว ไทยเหนือ กะเหรี่ยง ฮ่อแล้วแต่ว่าจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ใคร ภาษาของม้งขาวกับมังเขียวแตกต่างกันมากจนพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่โดยที่มีแบบแผนการแต่งกายคล้ายคลึงกัน จึงพอจะจัดให้เป็นชนเผ่าเดียวกันได้

ความเชื่อที่สำคัญ
1. ผีระดับเทพหรือเทวดาที่สำคัญคือ โช้ว หรือ เหย่อฮ์โชว์ จัดว่าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวง และเป็นผู้
    ดูแลโลกทั้งหมด (น) ยู่ว่าตัวะเต่ง เป็นผู้อนุญาตให้คนมาเกิด ตัดสินชีวิตคนและกำหนดอายุคน
2. เน้ง จัดเป็นผีฝ่ายที่คอยต่อสู้กับผีร้าย บทบาทในการรักษาคนเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ
3. ด๊า จัดเป็นผีทั่วไปซึ่งอาจจะให้ทั้งคุณและโทษอาจจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
          3.1 ผีเรือน จะประกอบด้วยผีสำคัญ ดังนี้ ผีประตู สีก๊ะ หิ้งผี บรรพบุุรุษ
          3.2 ผีทั่วไป ผีจำพวกนี้สิงสู่อยู่ในที่ทั่วไป เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีจอมปลวก เป็นต้น

ประเพณีที่สำคัญของชาวม้งคือ ประเพณีกินวอ หรือปีใหม่ม้ง จะมีขึ้นประมาณเดือนธันวาคม ถึงมกราคมของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวม้ง สาวชาวม้งจะนำชุดประจำเผ่าที่ตนอุตสาห์เย็บปักถักร้อย ด้วยตนเองมาเป็นเวลานานออกมาสวมใส่อวดเพื่อนบ้าน รวมทั้งหนุ่มชาวม้งต่างแดนที่มาเที่ยว เด็กๆ จะวิ่งเล่นตามลานกว้างของหมู่บ้าน รวมทั้งการเล่นตีลูกข่างอย่างสนุกสนาน หนุ่มสาวจะออกมาเล่นโยน ลูกละกอน คู่กัน เล่ากันว่าการโยน "ลูกละกอน" นี้เป็นการนำไปสู่เส้นทางแห่งความรักและชีวิตคู่ของหนุ่มสาวชาวม้ง กล่าวคือฝ่ายชายที่จ้องหมายปองหญิงที่ตนชื่นชอบ หลังจากนั้นในตอนกลางคืนก็จะมีการเที่ยวไปมาหาสู่กันจนประเพณีการกินวอเสร็จ ผู้ชายที่หมายปองสาวผู้ใดก็จะพาหนีไปอยู่ที่บ้านของตนสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะนำผู้ใหญ่มาสู่ขอตามประเพณีต่อไป...(ข้อมูลจากการจัดแสดงสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความเชื่อ งานมหกรรมไม้ดอกอาเชียนเชียงราย 2013)


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น