ชนชาติพันธุ์ลีซู (ลีซอ)

ลีซู (ลีซอ) หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต ต้นกำเนิดอาศัยอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน แม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2464 ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย

วิถีชีวิตความเป็นอยู่....อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง นับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้า โดยมีผู้นำ 2 คนคือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) ใช้ภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกลูธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ลีซูได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสันสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด

ลักษณะการทอผ้าขอลีซอเหมือนกลุ่มมูเซอ คือเป็นแบบห้างหลัง หรือสายคาดหลัง การทอผ้าเพื่อเย็บสวมใส่ไม่มีปรากฏในชุมชนลีซอของประเทศไทย ปัจจุบันมีเพียงการทอผ้าหน้าแคบขนาดเล็กๆ เพื่อนำมาเย็บประกอบเป็นย่ามเท่านั้น

ลักษณะการตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนใหญ่เน้นประดับด้วยแถบริ้วผ้าสลับสี ผ้าตัดปะ และเม็ดโลหะเงิน มีการตกแต่งด้วยลายปักบ้างเล็กน้อย บริเวณช่วงต่อระหว่างผ้าคาดเอวกับพู่ห้อย และด้านข้างสายย่ามช่วงต่อกับพู่ที่จะทิ้งชายลงมาทั้ง 2ด้านเท่านั้น (ข้อมูลจากการจัดแสดงสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ความเชื่อ งานมหกรรมไม้ดอกอาเชียนเชียงราย 2013)















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น